ข้ามไปเนื้อหา

นักวิทยุสมัครเล่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

"นักวิทยุสมัครเล่น" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "amateur radio operator" หมายถึงบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นจากรัฐบาลหรือจากผู้ที่มีอำนาจของแต่ละประเทศ นักวิทยุสมัครเล่นจะใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในสถานีของนักวิทยุสมัครเล่นสำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างนักวิทยุสมัครเล่นที่ได้รับอนุญาตเช่นเดียวกัน รวมทั้งใช้ความถี่ที่กำหนดให้เฉพาะกิจการวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น ซึ่งการใช้งานจะต้องเป็นตามเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาต นักวิทยุสมัครเล่นจะได้รับการกำหนดสัญญาณเรียกขาน เพื่อระบุตัวตนในการติดต่อสื่อสาร ปัจจุบันมีนักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลกประมาณ 3 ล้านคน

นักวิทยุสมัครเล่นมักเรียกตัวเองว่า "ham" สำหรับที่มาของคำว่า "ham" นั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าเริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อใด และนักวิทยุสมัครเล่นมักจะเรียกหรือกล่าวถึงนักวิทยุสมัครเล่นที่เสียชีวิตว่า "silent key"

ข้อมูลสถิตินักวิทยุสมัครเล่น

[แก้]
ประเทศ จำนวนนักวิทยุสมัครเล่น จำนวนต่อเปอร์เซ็นประชากร ปีที่รายงาน (ค.ศ.) อ้างอิง
 สหรัฐ 779,545 0.233 2021 [1]
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 381,899 0.304 2021 [2]
ธงของประเทศจีน จีน 150,000 0.010 2019 [3]
 สหราชอาณาจักร 75,660 0.114 2018 [4]
ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา 70,198 0.187 2018 [5]
 สาธารณรัฐจีน 68,692 0.296 1999 [6]
 ไทย 65,606 0.100 2022 [6]
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 63,070 0.073 2019 [7]
ธงของประเทศสเปน สเปน 58,700 0.127 1999 [6]
ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 42,632 0.082 2012 [8]
ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 38,000 0.026 1993 [6]
ธงของประเทศบราซิล บราซิล 32,053 0.016 1997 [6]
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี 30,000 0.049 1993 [6]
ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 27,815 0.011 1997 [6]
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 13,500 0.019 2022 [9]
ธงของประเทศยูเครน ยูเครน 17,265 0.037 2000 [6]
ธงของประเทศอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 16,889 0.042 1999 [6]
ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์ 13,600 0.035 2020 [10]
ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 15,068 0.059 2020 [11]
ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย 15,679 0.001 2000 [6]
ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน 12,859 0.114 2021 [12]
ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 12,582 0.07 2018 [13]
ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย 10,509 0.04 2016 [6]
ธงของประเทศเดนมาร์ก เดนมาร์ก 9,079 0.152 2022 [14]
ธงของประเทศสโลวีเนีย สโลวีเนีย 6,500 0.317 2000 [6]
ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย 6,930 0.077 2022 [15]
ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ 6,000 0.12 1994 [6]
ธงของประเทศแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ 6,000 0.012 1994 [6]
ธงของประเทศนอร์เวย์ นอร์เวย์ 6,818 0.125 2022 [16]
ธงของประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย 5,327 0.05 2022 [17]
ธงของประเทศฟินแลนด์ ฟินแลนด์ 5,000 0.090 2016 [18]
ธงของประเทศเซอร์เบีย เซอร์เบีย 3,962 0.056 2020 [19]
ธงของประเทศโรมาเนีย โรมาเนีย 3,527 0.018 2017 [20]
ธงของประเทศไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ 1,945 0.039 2020 [21][22]
ธงของประเทศเอสโตเนีย เอสโตเนีย 700 0.052 2020

คุณลักษณะทั่วไปของนักวิทยุสมัครเล่น

[แก้]

มีไม่กี่ประเทศที่ได้บันทึกเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักวิทยุสมัครเล่นไว้ นอกจากจำนวนของนักวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น นักวิทยุสมัครเล่นส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศเหล่านี้ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไทย เกาหลีใต้ และสหภาพยุโรป มีเพียง 2 ประเทศเท่านั้นที่ไม่อนุญาตให้ประชาชนทั่วไปเป็นนักวิทยุสมัครเล่น คือ เยเมน และ เกาหลีเหนือ ในบางประเทศก็เป็นการยากที่ประชาชนทั่วไปจะได้รับอนุญาตเนื่องจากค่าใบอนุญาตที่สูงมาก ในบางประเทศก็อนุญาตให้ชาวต่างชาติด้วย ซึ่งมีจำนวนน้อยที่นักวิทยุสมัครเล่นจะได้รับอนุญาตในหลายๆ ประเทศพร้อมกัน

ธรรมเนียม

[แก้]

ผู้เสียชีวิต

[แก้]

สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นที่เสียชีวิตนั้น ในภาษาของนักวิทยุสมัครเล่นจะใช้คำว่า Silent Key ใช้ตัวย่อคือ SK ในการกล่าวถึงโดยให้ความเคารพ[23]

สำหรับที่มานั้นมาจากในอดีตจะมีการส่งรหัส "SK" (หรือ "VA") ในการส่งสัญญาณเป็นรหัสสุดท้ายก่อนจะสิ้นสุดการส่งสัญญาณจากสถานีและปิดเครื่องส่งสัญญาณ[24] จึงมีการนำมาใช้ต่อท้าสัญญาณเรียกขานของนักวิทยุสมัครเล่นที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว เสมือนกับการได้ส่งสัญญาณครั้งสุดท้ายก่อนจากไป

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "FCC License Counts". arrl.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-24. สืบค้นเมื่อ 2019-11-30.
  2. "Hamlife.jp Database Ministry of Communication". สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.
  3. "业余电台操作证书核发信息公告(ABC类及香港B类)" [Amateur Radio Operation Certificate Issue Information Announcement (ABC Class and Hong Kong Class B)]. Chinese Radio Amateurs Club. June 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-28.
  4. "How many UK radio amateurs are there?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-15. สืบค้นเมื่อ 2023-03-15.
  5. "Southgate Amateur Radio News". southgatearc.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-15. สืบค้นเมื่อ 20 November 2020.
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 6.12 6.13 "Thailand Reported to Have the Third Largest Ham Radio Population". American Radio Relay League (ARRL.org). สืบค้นเมื่อ 2020-11-20.
  7. "Amateurfunk". Bundesnetzagentur. 2019.
  8. "Triennial Report from KARL". iaru-r3.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-02. สืบค้นเมื่อ 2012-11-04.
  9. REF preliminary callsign statistics
  10. "UKE Radioamator". amator.uke.gov.pl. สืบค้นเมื่อ 2020-01-21.
  11. "ACMA Radiocomms license data". acma.gov.au. สืบค้นเมื่อ 2020-12-29.
  12. SSA callsign statistics published in QTC 12/2021
  13. Agentschap Telecom - Ministerie van Economische Zaken en Klimaat "Staat van de Ether 2018". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-23.
  14. Energistyrelsen Frekvensregister {{cite web |url=https://frekvensregister.ens.dk/Search/Search.aspx?title=Result&scrolling=auto&url=http://frekvensregister.itst.dk:80/Search/Result.aspx เก็บถาวร 2023-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน?
  15. "Rufzeichenliste österreichischer Amateurfunkstellen" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-10. สืบค้นเมื่อ 2022-02-15.
  16. Nkom callsign statistics
  17. "Individual licenses and call signs of Radio Amateur Service stations". ctu.cz. สืบค้นเมื่อ 2022-12-15.
  18. "Mitä radioamatööritoiminta on?". SRAL.fi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-06-01. สืบค้นเมื่อ 2016-03-06.
  19. "YU Amateur Radio Call Book". yu1srs.org.rs. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-17. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30.
  20. "ANCOM Callbook Radioamatori". ancom.org.ro. สืบค้นเมื่อ 11 January 2018.
  21. "COMREG Licensing Database". www.comreg.ie. 7 March 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2017. สืบค้นเมื่อ 2021-04-18.
  22. "Population and Migration Estimates April 2020 - CSO - Central Statistics Office". www.cso.ie (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-18.
  23. "Silent Key Submission Guidelines". www.arrl.org (ภาษาอังกฤษ).
  24. "Morse Code Operating Aids". web.archive.org. 2017-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-28. สืบค้นเมื่อ 2023-03-15.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)