ข้ามไปเนื้อหา

จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษย์ในงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการนำความรู้เรื่องพฤติกรรมของมนุษย์ไปใช้ในกิจกรรมทางอุตสาหกรรม เกี่ยวกับพฤติกรรมในการจัดการและการวางแผนงาน อุตสาหกรรมการผลิต การโฆษณาสื่อสาร การจำหน่าย การบริโภค และการบริการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในการดำเนินงานอุตสาหกรรม ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการนำทฤษฎีและหลักการทางจิตวิทยาไปช่วยพัฒนาและแก้ปัญหาด้านพฤติกรรมของมนุษย์ที่ดำเนินงานอุตสาหกรรม ทั้งด้านการสร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและการวางตนตามบทบาทหน้าที่ในหน่วยงาน

จากความหมายของจิตวิทยาอุตสาหกรรมดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการศึกษาจิตวิทยาอุตสาหกรรมนั้น จะต้องศึกษาตั้งแต่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานอุตสาหกรรม แล้วหาวิธีการนำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมนั้นไปใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรมทุกด้าน ทุกขั้นตอน นับแต่ขั้นตอนการเริ่มงานอุตสาหกรรม การผลิต การติดต่อสื่อสาร โฆษณา ประชาสัมพันธ์ การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและการให้บริการที่สนองความพอใจของผู้บริโภคได้ ทั้งนี้โดยผู้ให้บริการก็ทำงานได้ด้วยความสุขความพอใจ เจ้าของกิจการก็ประสบความสำเร็จและเกิดความสุขความพอใจในงาน จึงเห็นได้ว่า การที่จะได้ชื่อว่าใช้จิตวิทยาเป็นนั้นต้องก่อให้เกิดความพึงพอใจหรือโดยสมัครใจกับทุกฝ่าย


จิตวิทยาการจัดองค์กรอุตสาหกรรมได้รับความนิยมเป็นที่ยอมรับในวงการ อุตสาหกรรมในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  การพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมของประเทศ มีผลมาจากการนำจิตวิทยาการจัดองค์กรอุตสาหกรรมมาใช้ทั้งสิ้น      การให้ความรู้ทางจิตวิทยาจัดองค์กรอุตสาหกรรมที่เหมาะสมทันสมัย จะทำให้บุคลากรขององค์การสามารถผลิตสินค้าได้ดีมีคุณภาพตามที่องค์กรและลูกค้าต้องการ

นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมฯ[แก้]

รายละเอียดในหน้าที่หลัก 4 ประการ มีดังต่อไปนี้

         4.1 หน้าที่ในการวิจัย การวิจัยคือ การค้นหาข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์กับปัญหาต่างๆ ได้เช่น อาจจะวิจัยวิธีการฝึกอบรมชนิดหนึ่งว่า จะมีประสิทธิภาพต่อการฝึกอบรมคนงานในลักษณะงานใด หรือวิจัยถึงการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสนับสนุนและจูงใจในการทำงานของคนงาน เป็นต้น

         4.2 หน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษา นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรผู้ทำหน้าที่นี้มักจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านความถนัดในการทำงานของคน การจัดการเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรม การฝึกอบรมด้านการจัดการ การให้คำปรึกษาแนะนำหรือทำงานร่วมกับวิศวกรออกแบบเครื่องจักรกล เช่น การให้คำปรึกษาว่ามนุษย์ควรทำอะไรได้บ้างในยานอวกาศ หรือจะทำอย่างไรให้เกิดความปลอดภัยขณะคุมเครื่องจักรทำงาน รวมทั้งการให้คำปรึกษาด้านโฆษณาสินค้าต่างๆ เป็นต้น

         4.3 หน้าที่ในการพัฒนาโปรแกรม ในบทบาทนี้ นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรจะทำหน้าที่ช่วยดำเนินการ และจัดการเกี่ยวกับโปรแกรมต่างๆ เช่น โปรแกรมการทดสอบบุคลากร โปรแกรมการฝึกอบรม โปรแกรมการประเมินผลคนงาน โดยอาศัยความรู้เทคนิคและวิธีการต่างๆ ทางด้านจิตวิทยา เช่น กระบวนการกลุ่มและมนุษยสัมพันธ์ เป็นต้น

         4.4 หน้าที่ในการประเมินผลบุคคล นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรจะต้องทำหน้าที่ให้บริการทางการประเมินผลแก่บุคคลตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันของโรงงานหรือองค์กรนั้นๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการประเมินผลมักจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเรื่องการว่าจ้างคนงาน การเลื่อนตำแหน่ง หรือค่าจ้างให้สูงขึ้นหรือเกี่ยวกับงานการบริหารบุคลากร บางครั้งอาจเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาหารือแก่แต่ละบุคคลโดยเฉพาะก็ได้ เทคนิคที่ใช้ในการประเมินผลได้แก่ การสัมภาษณ์ และการทดสอบ

         นอกจากหน้าที่หลัก 4 ประการดังกล่าวแล้ว นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรยังมีกิจกรรมปลีกย่อยที่ต้องกระทำตลอดเวลา เช่น การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบ การดำเนินการสอบและการให้คะแนน การแปรผล และการประเมินผล การสัมภาษณ์บุคคลเพื่อรวบรวมข้อมูลการวิจัย ซึ่งอาจจะเป็นโครงการศึกษาวิจัยหรือโครงการเกี่ยวกับโปรแกรมต่างๆ ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะแก่บุคลากรทางด้านการจัดการ ได้แก่ หัวหน้างาน วิศวกรและผู้อื่นเกี่ยวกับการตัดสินหรือการดำเนินงานซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับคุณลักษณะของมนุษย์ เช่น ทางด้านการคัดเลือกบุคลากร การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน การออกแบบเครื่องมือ ความสัมพันธ์กับคนงานและการดำเนินการโฆษณา เป็นต้น


งานและภาระหน้าที่ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การได้ดังต่อไปนี้ (Division of Industrial and Organizational Psychology, 1988)

1. การคัดเลือกและการจัดวางบุคลากร (personnel selection and placement)

1.1 การพัฒนาโครงการสำหรับการคัดเลือกบุคลากร

1.2 การจัดวางบุคลากรสำหรับตำแหน่งงานต่างๆ อย่างเหมาะสมที่สุด

1.3 การสำรวจระบุศักยภาพเชิงการจัดการของบุคลากร

2. การพัฒนาองค์การ (organizational development)

2.1 การวิเคราะห์โครงสร้างองค์การ

2.2 การเพิ่มระดับความพึงพอใจและประสิทธิภาพของบุคคลและหน่วยการทำงานให้ถึงระดับสูงสุด

2.3 การช่วยเหลือสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงองค์การ

3. การฝึกอบรมและการพัฒนา (training and development)

3.1 การระบุความต้องการและความจำเป็นในการฝึกอบรมและการพัฒนา

3.2 การพัฒนาและการจัดโครงการฝึกอบรม เพื่���พัฒนาทักษะด้านเทคนิค ด้านการจัดการและด้านการบังคับบัญชา

3.3 การประเมินผลประสิทธิภาพของโครงการฝึกอบรมและพัฒนา โดยใช้เกณฑ์ด้านผลิตภาพ (productivity) และความพึงพอใจ

4. การวิจัยด้านบุคลากร (personnel research)

4.1 การพัฒนาเครื่องมือทดสอบสำหรับการคัดเลือก การจัดวาง การจำแนก และการเลื่อนตำแหน่งของบุคลากร

4.2 การทดสอบความตรงของเครื่องมือต่างๆ

4.3 การวิเคราะห์งาน

5. การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน (quality of work lifedevelopment)

5.1 การเพิ่มพูนผลผลิตของพนักงานแต่ละบุคคล

5.2 การตรวจระบุปัจจัยซึ่งมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงาน

5.3 การออกแบบงานใหม่เพื่อให้เป็นงานที่มีความหมายต่อบุคคลมากขึ้น

6. จิตวิทยาผู้บริโภค (consumer psychology)

6.1 ประเมินความชอบ-ไม่ชอบของผู้บริโภค

6.2 การสำรวจปฏิกิริยาของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าชนิดใหม่

6.3 การพัฒนากลยุทธ์การตลาด

7. จิตวิทยาวิศวกรรม (engineering psychology)

7.1 การออกแบบสภาพแวดล้อมในการทำงาน

7.2 การเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานในการทำงานกับเครื่องจักรของบุคลากร

7.3 การพัฒนาเทคโนโลยีด้านระบบ

นักจิตวิทยาองค์การ[แก้]

บุคคลที่จะประกอบอาชีพนี้ ต้องศึกษาจบขั้นต่ำปริญญาโท ในสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ โดยสามารถประกอบอาชีพได้ดังนี้


1. เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาองค์การ

2. ทำงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคล

3. เป็นที่ปรึกษาการบริหารองค์การ

4. เป็นนักฝึกอบรมด้านทรัพยากรมนุษย์ และพฤติกรรมศาสตร์

5. ทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาองค์การ เช่น นักการตลาด

นักออกแบบและการประเมินผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นักบริหารในองค์การต่าง ๆ

แนวโน้มของการประกอบอาชีพจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การในอนาคต[แก้]


อุปสรรคการเติบโตของจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การในประเทศไทย[แก้]

  1. ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย คนไทยส่วนใหญ่เวลาได้ยินคำว่า "นักจิตวิทยา-" จะมีภาพของอาชีพนักจิตวิทยาคลินิก และนักจิตวิทยาการปรึกษา แต่ในความเป็นจริงแล้วนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การมีความสำคัญในบริบทของการทำงานในองค์การประการประกอบธุรกิจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาบุคลากรในองค์การ

อ้างอิง[แก้]