ข้ามไปเนื้อหา

จีเอ็มเอ็ม 25

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จีเอ็มเอ็ม แชนแนล)
สถานีโทรทัศน์จีเอ็มเอ็ม 25
ชื่ออื่นGMM25
ประเทศไทย ไทย
พื้นที่แพร่ภาพภายใน ไทย ประเทศไทย
เครือข่ายช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล
ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ

• ช่องโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่
คำขวัญสนุกทุกวัน อยู่ด้วยกันทุกเวลา
สำนักงานใหญ่เลขที่ 50 อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส ถนนอโศกมนตรี แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
แบบรายการ
ระบบภาพ576i (16:9 คมชัดปกติ)
720p (16:9 ภาพคมชัดสูง/ออนไลน์)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด (ฝ่ายบริหาร)
บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) (ตัวแทนการตลาด)
บริษัทแม่บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
บุคลากรหลักถกลเกียรติ วีรวรรณ
ช่องรองช่องวัน 31
วันดี (One D)
ประวัติ
เริ่มออกอากาศระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน:
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (10 ปี)
ระบบดาวเทียมเคเบิลทีวีและดิจิทัล:
2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (8 ปี)
ชื่อเดิมช่องบิ๊ก: 25 พฤษภาคม - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 (1 เดือน 23 วัน)
ลิงก์
เว็บไซต์www.gmm25.com
ออกอากาศ
ภาคพื้นดิน
ดิจิทัลช่อง 25 (มักซ์#5 : ททบ.)
เคเบิลทีวี
ช่อง 25
ทีวีดาวเทียม
ช่อง 25
สื่อสตรีมมิง
GMM25ชมรายการสด

จีเอ็มเอ็ม 25 (อังกฤษ: GMM25)[1] เป็นช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลความละเอียดมาตรฐาน บริหารงานโดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด ซึ่งจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นเจ้าของและถือหุ้นในทางอ้อมผ่านบริษัท จีเอ็มเอ็ม โฮลดิ้ง จำกัด โดยมีกิตติศักดิ์ ช่วงอรุณ รองประธานกรรมการบริหารกลุ่มของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของสถานี และมีเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นตัวแทนการตลาด โดยจัดหาลูกค้าเพื่อดำเนินรายการและจำหน่ายเวลาโฆษณาให้กับช่อง ผ่านทางบริษัทย่อยคือบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด ทำให้จีเอ็มเอ็ม 25 เป็นสถานีโทรทัศน์รองของช่องวัน 31

ประวัติ

[แก้]

จีเอ็มเอ็ม 25 มีเนื้อหาที่นำเสนอรายการวาไรตี้ ดนตรี กีฬา ข่าวสาร สาระบันเทิง รวมถึงรายการสำหรับเด็กและครอบครัว โดย โดยมี ฉอด - สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา เป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของช่องคนแรก ซึ่งก่อนหน้าจะเริ่มออกอากาศ มีการโฆษณาด้วยชื่อ จี-ทเวนตีไฟว์ (G-25) แต่มิได้นำมาใช้จริง ต่อมาได้เปิดตัวในชื่อ ช่องบิ๊ก (BiG) เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ร่วมกับช่องวัน แต่เริ่มทดลองออกอากาศตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม เวลา 11:00 น. พร้อมกับอมรินทร์ทีวี นับเป็น 1 ใน 2 ช่องสุดท้ายที่เริ่มการออกอากาศในระบบดิจิทัล จากนั้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ได้มีการเปลี่ยนชื่อครั้งแรกเป็น จีเอ็มเอ็ม แชนแนล ภายใต้อัตลักษณ์ชั่วคราว และได้มีการเปิดตัวสถานีและอัตลักษณ์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กันยายน ปีเดียวกัน ก่อนมีการปรับอัตลักษณ์อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 โดยแสดงหมายเลขช่อง 25 กำกับไว้ทางขวามือ ก่อนที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จะตัดคำว่า แชนแนล เหลือเพียง จีเอ็มเอ็ม 25 จนถึงปัจจุบัน

การลงนามจองซื้อหุ้นสามัญโดยกลุ่มทีซีซี

[แก้]

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ส่งหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัท อเดลฟอส จำกัด ในเครือบริษัทกลุ่มทีซีซี โดยปณต และฐาปน สิริวัฒนภักดี ได้ร่วมลงนามในสัญญาจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ในสัดส่วน 50% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ทำให้จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง เปลี่ยนสถานะจากบริษัทย่อยเป็นบริษัทร่วมค้า พร้อมทั้งปรับโครงสร้างของจีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ใหม่ ดังนี้[2]

  1. ขายและโอนสิทธิ์การถือหุ้นของ" บริษัท จีเอ็มเอ็มทีวี จำกัด" จำนวน 100% ให้จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง
  2. ขายและโอนสิทธิ์การถือหุ้นของ "บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน)" จำนวน 99.8% ให้จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ซึ่งบริษัทดังกล่าวถือหุ้นใน บริษัท เอไทม์ มีเดีย จำกัด จำนวน 100% และเอไทม์ มีเดีย ถือหุ้นบริษัท เอไทม์ ทราเวลเลอร์ จำกัด 20%
  3. เข้าซื้อและรับโอนสิทธิ์การถือหุ้นของบริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด, บริษัท ทีน ทอล์ก จำกัด จำนวนบริษัทละ 100% และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด จำนวน 25% จากจีเอ็มเอ็ม มีเดีย โดยซีเนริโอเป็นผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งของ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ผู้รับใบอนุญาตของช่องวัน 31 และเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้รับโอนธุรกิจการผลิตรายการโทรทัศน์จากเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558

เท่ากับว่า จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จะมีบริษัทย่อยดังนี้[3]

  1. บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด
  2. บริษัท จีเอ็มเอ็มทีวี จำกัด
  3. บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน)
  4. บริษัท เอไทม์ มีเดีย จำกัด
  5. บริษัท เอไทม์ ทราเวลเลอร์ จำกัด

ทั้งนี้ การจองซื้อหุ้นสามัญดังกล่าว มีผลทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ลดลงจากเดิม 100% ของทุนจดทะเบียน เป็น 50% ของทุนจดทะเบียน และสัญญาดังกล่าวกลุ่มทีซีซีจะยังไม่สามารถเข้ามาปรับโครงสร้างภายในจีเอ็มเอ็ม 25 ได้ภายในเวลา 5 ปี นับจากวันที่ทำสัญญา แต่ในระยะยาวกลุ่มทีซีซีต้องการเปลี่ยนฐานผู้ชมจากเดิมที่เน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มวัยรุ่น มาเป็นกลุ่มคนทั่วไปเพื่อขยายฐานผู้ชมให้กว้างขึ้นจากเดิม[4]

โดยจีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ได้เสร็จสิ้นขั้นตอนการเพิ่มทุนเป็นที่เรียบร้อยในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยอเลฟอสได้จัดตั้ง บริษัท สิริดำรงธรรม จำกัด และ บริษัท ภักดีวัฒนา จำกัด ขึ้นมาถือหุ้นแทน ทั้งนี้ฐาปณถือหุ้นสิริดำรงธรรมทั้งหมด และปณตถือหุ้นภักดีวัฒนาทั้งหมดเช่นกัน[5]

อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ก็มีข่าวลือว่า ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กำลังเจรจาขอซื้อหุ้นคืนทั้งหมด ภายหลังจากที่แผนการบริหารของทั้งสองกลุ่มเกิดความขัดแย้งกัน[6]

ข่าวลือเรื่องการปลดตัวฉอด

[แก้]

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2561 ต๊ะ - นารากร ติยายน ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า "ได้ยินมาว่า ฟ้าผ่าที่ GMM25" และอีกสองชั่วโมงต่อมาก็ได้โพสต์ข้อความต่อเนื่องว่า "ได้ยินมาว่า ไม่ใช่แค่ GMM25 A-Time ก็โดนด้วย" จึงทำให้เกิดความสงสัยในสังคมออนไลน์ว่ามีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับฉอดหรือไม่ เพราะปกตินักข่าวจะใช้คำว่า "ฟ้าผ่า" ก็ต่อเมื่อมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหารแบบฉับพลัน หรือตำแหน่งระดับสูง[7] ซึ่งต่อมาฉอดได้โพสต์ข้อความอธิบายลงในอินสตาแกรมส่วนตัวว่าข่าวดังกล่าวเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว เพราะตัวเองไม่ได้ออกจากการเป็นบอร์ดบริหารของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, จีเอ็มเอ็ม มีเดีย และจีเอ็มเอ็ม 25 แต่ขยับขึ้นไปดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการของจีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ซึ่งดูแลภาพรวมของกลุ่มธุรกิจจีเอ็มเอ็ม 25 แทน[8]

การปรับโครงสร้างบริษัทและกลุ่มเป้าหมาย

[แก้]

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 หลังจากที่มีข่าวลือเรื่องการปลดตัวฉอดในไม่กี่เดือนก่อนหน้า ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเพียงการย้ายไปควบคุมในตำแหน่งที่สูงกว่าในจีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทแม่ที่ดูแลจีเอ็มเอ็ม 25 และบริษัทอื่น ๆ ในเครือแกรมมี่ อีกทั้งฉอดยังได้ก่อตั้งบริษัทใหม่ของตนเองขึ้นคือ "บริษัท เช้นจ์ 2561 จำกัด" เป็นบริษัทย่อยของจีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง เพื่อผลิตละครแนวดราม่า มาตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน[9][10] ซึ่งทั้ง 2 บริษัทมีเป้าหมายเดียวกันคือเพื่อผลิตเนื้อหาสำหรับทุกช่องทีวีดิจิทัล และทุกช่องทางที่ผู้ชมสะดวกต่อการรับชมเนื้อหา และเพื่อให้สามารถบริหารงานได้อย่างคล่องตัว เล็ก - บุษบา ดาวเรือง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จึงเข้ามารักษาการผู้อำนวยการฝ่ายบริหารช่องจีเอ็มเอ็ม 25 แทน[8]

วันรุ่งขึ้น บุษบา ดาวเรือง ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับนโยบาย กลุ่มผู้ชม เป้าหม���ย และประเภทของเนื้อหาของช่องจีเอ็มเอ็ม 25 ในอนาคต ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็น "กลุ่ม Premium Mass" โดยหวังเจาะกลุ่มตลาดคนดูทั่วประเทศแต่มุ่งเน้นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง แทนที่กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานที่เป็นฐานผู้ชมเดิม เนื่องจากต้องการสร้างทั้งเรตติ้งและรายได้ให้กับช่องมากขึ้น โดยเนื้อหาของจีเอ็มเอ็ม 25 ในยุคนี้ยังคงมาจากทั้งละครและรายการวาไรตี้ที่ผลิตโดยตัวช่องเอง, จีเอ็มเอ็มทีวี ที่ผลิตรายการและละครซีรีส์วัยรุ่นให้กับช่องมาโดยตลอด และบริษัทอื่น ๆ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ หรือพันธมิตรทางธุรกิจ[11][12][13]

ในวันที่ 31 กรกฎาคม จีเอ็มเอ็ม 25 ได้ประกาศชื่อผู้บริหารใหม่อย่างไม่เป็นทางการในรายการภาคเช้าของช่องว่า ถา - สถาพร พานิชรักษาพงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของจีเอ็มเอ็มทีวี จะขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของช่องแทนเล็กที่รักษาการ และชนิดา วงศ์ธนาภักดี ผู้จัดการฝ่ายขายของจีเอ็มเอ็มทีวี ก็ขึ้นมาเป็นผู้จัดการฝ่ายขายของจีเอ็มเอ็ม 25 เช่นกัน[14] ทั้งนี้ถายังคงดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจีเอ็มเอ็มทีวีตามปกติ[15]

ในวันที่ 13 กันยายน จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ได้ก่อตั้งบริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งคือ "บริษัท จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด" เพื่อผลิตรายการออกอากาศทางโทรทัศน์และออนไลน์ และจำหน่ายลิขสิทธิ์ไปสู่ผู้ให้บริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ[16][17] ก่อนที่จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จะเปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด" ในวันรุ่งขึ้น[18]

ภายใต้การดูแลการตลาดโดย เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์

[แก้]

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ผู้จัดการออนไลน์เผยแพร่บทวิเคราะห์ว่า จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีมติด่วนให้ บอย - ถกลเกียรติ วีรวรรณ ขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของจีเอ็มเอ็ม 25 แทนถาที่ตัดสินใจกลับไปบริหารจีเอ็มเอ็มทีวีอย่างเต็มตัว และให้ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ มีอำนาจในการบริหารช่องร่วมกัน เพื่อเป็นการสร้างชื่อให้จีเอ็มเอ็ม 25 มีเรตติ้งกลับขึ้นมาติด 10 อันดับแรกของทีวีดิจิทัล เนื่องจากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ไว้ใจที่บอยสามารถทำให้ช่องวัน 31 ขึ้นมาติด 5 อันดับแรกได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี[19] ถัดจากนั้นไม่กี่วัน คือวันที่ 25 พฤศจิกายน จีเอ็มเอ็ม 25 มีแถลงการณ์ภายในระบุว่าจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จะเลิกกิจการถาวร เหลือสถานะเพียงถือใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัลช่อง 25 จนกว่าใบอนุญาตหมดอายุ และให้บริษัทในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เช่าเวลาสถานีเพื่อดำเนินรายการแทน[20]

ต่อมาในวันที่ 27 พฤศจิกายน จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้แจ้งเรื่องการปรับโครงสร้างธุรกิจของตนต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และกลุ่มทีซีซี คิดเป็นมูลค่า 2,200,000,000 บาท เพื่อปรับโครงสร้างการลงทุน และส่วนหนึ่งเป็นการเตรียมตัวของเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เพื่อทำการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จะถือหุ้นในจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง รวมถึงถือหุ้นทางอ้อมในบริษัทย่อยทั้งหมด คือ จีเอ็มเอ็มทีวี, เช้นจ์ 2561, จีเอ็มเอ็ม มีเดีย, เอไทม์ มีเดีย และจีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ อินเตอร์เนชั่นแนล แต่ก่อนการขายหุ้น จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ให้บริษัท จีเอ็มเอ็ม โฮลดิ้ง จำกัด บริษัทย่อยของตน ได้เข้าซื้อหุ้���บริษัทดังต่อไปนี้จากจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายของ กสทช. และประเด็นเรื่องการเปลี่ยนเจ้าของบริษัท ได้แก่

  • บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด
  • บริษัท คอนเทนต์ แอนด์ อาร์ตติสท์ เน็ตเวิร์ค จำกัด
  • บริษัท เอไทม์ ทราเวลเลอร์ จำกัด

จากกระบวนการดังกล่าวจึงทำให้ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ถือหุ้นใหญ่ในกลุ่มธุรกิจจีเอ็มเอ็ม 25 ยกเว้นตัวช่องจีเอ็มเอ็ม 25 ที่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ยังคงถือหุ้นและบริหารในทางอ้อม โดยมีการปรับโครงสร้างของกรรมการของจีเอ็มเอ็ม 25 เหลือเพียงคนเดียวคือ กิตติศักดิ์ ช่วงอรุณ รองประธานกรรมการบริหารกลุ่มของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ทำให้กิตติศักดิ์เป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารคนใหม่ของช่องจีเอ็มเอ็ม 25 แทนสถาพรไปโดยปริยาย และเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้ทำสัญญาอีก 2 ฉบับ คือสัญญาแต่งตั้งเป็นตัวแทนการตลาดของช่องจีเอ็มเอ็ม 25 และการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ของรายการที่ออกอากาศในช่องจีเอ็มเอ็ม 25 ผ่านทางจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง ทำให้เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้รับสิทธิ์ในการเป็นตัวแทนการตลาด ผ่านการจัดหาลูกค้าเพื่อดำเนินการผลิต รับจ้าง หรือร่วมผลิตรายการ จำหน่ายเวลาโฆษณาทั้งหมด และเข้าไปร่วมผลิตรายการให้กับช่องจีเอ็มเอ็ม 25 ทำให้จีเอ็มเอ็ม 25 กลายเป็นสถานีโทรทัศน์รองของช่องวัน 31 การปรับโครงสร้างทั้งหมดเสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ยกเว้นการเป็นตัวแทนการตลาดและการอนุญาตใช้ชื่อรายการโทรทัศน์ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 จนกว่าจะหมดอายุใบอนุญาตของช่องจีเอ็มเอ็ม 25[21]

วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2564 จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง ได้จดทะเบียนลดทุนเพื่อล้างยอดขาดทุนสะสมพร้อมกับบริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ผู้รับใบอนุญาตของช่องวัน 31 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการของเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัทแม่ของทั้งคู่ เพื่อให้เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ สามารถจ่ายเงินปันผลได้มากขึ้นภายหลังการจดทะเบียนในอนาคต[22]

รายการข่าว

[แก้]

ในช่วงแรก จีเอ็มเอ็ม 25 ใช้วิธีออกอากาศคู่ขนานรายการข่าวจากช่องวัน 31 เป็นระยะเวลา 5 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ก่อนที่ทางช่องจะก่อตั้งทีมข่าว จีเอ็มเอ็มนิวส์ เพื่อผลิตรายการข่าวออกอากาศเอง บริหารงานโดย อั๋น - ภูวนาท คุนผลิน และเริ่มออกอากาศรายการข่าวของตนตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558[23] จนถึงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562 จึงยุติการผลิตรายการข่าวเนื่องจากช่องไม่ถนัด[24] โดยได้ให้เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย (ปัจจุบันคือเจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป) เข้ามาเช่าเวลาผลิตรายการข่าวแทน โดยออกอากาศรายการข่าวของซีเอ็นบีซีภาคภาษาไทยเป็นครั้งแรกในนาม เจเคเอ็นซีเอ็นบีซี เน้นการนำเสนอข่าวเศรษฐกิจเป็นหลัก[25] แต่เนื่องจากกลุ่มฐานคนดูรายการข่าวประเภทนี้ไม่เหมาะสมกับฐานคนดูปกติของช่อง ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน เจเคเอ็นจึงปรับรูปแบบข่าวภาคเที่ยงและเย็นมาเป็นการนำเสนอข่าวทั่วไป[26] และตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม จีเอ็มเอ็ม 25 ก็ได้เรียกคืนเวลาข่าวภาคเที่ยงและเย็นจากเจเคเอ็น และกลับมาผลิตข่าวของตนในนาม "ข่าวจีเอ็มเอ็ม 25" ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม คงเหลือเพียงรายการภาคเช้าที่ให้เจเคเอ็นผลิตในประเภทข่าวทั่วไป[27]

หลังจากเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เข้าซื้อจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง มาเป็นบริษัทย่อย และเข้ารับการเป็นตัวแทนการตลาดและร่วมผลิตรายการให้ช่องจีเอ็มเอ็ม 25 แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 พนักงานบางส่วนที่ยังทำงานร่วมกับฝ่ายข่าวจีเอ็มเอ็ม 25 จึงได้ถูกโยกมาเป็นพนักงานของช่องวัน 31 ใช้กองบรรณาธิการร่วมกับฝ่ายข่าวช่องวัน และได้เรียกคืนเวลารายการภาคเช้าจากเจเคเอ็นมาให้ฝ่ายข่าวช่องวันร่วมผลิต (ร่วมกับเอไทม์ มีเดีย ในขณะนั้น) เช่นเดียวกับข่าวภาคเที่ยงและข่าวภาคค่ำที่ยังคงออกอากาศตามปกติ[28] โดยจีเอ็มเอ็ม 25 ได้จัดผังรายการข่าวให้ออกอากาศหลังจากรายการข่าวของช่องวัน 31 ทั้งหมด[29] และในปี พ.ศ. 2565 ฝ่ายข่าวจีเอ็มเอ็ม 25 ได้รวมตัวกับฝ่ายข่าวช่องวันและทีมวันบันเทิง และพัฒนาขึ้นเป็น สำนักข่าววันนิวส์[30]

ผู้ประกาศข่าวในปัจจุบันที่มีชื่อเสียง

[แก้]

รายการข่าวและผู้ประกาศข่าวในปัจจุบัน

[แก้]

รายการข่าวประจำวัน

[แก้]
รายการข่าว ผู้ประกาศข่าว
เคาะข่าวเช้า
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 08:45 – 10:45 น.
อรรินทร์ ยมกกุล
ณัฏฐ์ศรุต ถาม์พรทองสุทธิ
เคาะข่าว เสาร์–อาทิตย์
วันเสาร์ – วันอาทิตย์
เวลา 10:00 – 12:00 น.
อรชุน รินทรวิฑูรย์ (วันเสาร์)
อรรินทร์ ยมกกุล (วันเสาร์)
ญาณิน ญาณัชปวีณ (วันอาทิตย์)
ณัฏฐ์ศรุต ถาม์พรทองสุทธิ (วันอาทิตย์)
เกาะข่าวเที่ยง
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 12:30 – 14:00 น.
ศรัณภัสร์ ตั้งไพศาลธนกุล
ญาณิน ญาณัชปวีณ
เจาะข่าวค่ำ
วันจันทร์ – วันอาทิตย์
เวลา 18:00 – 19:00 น.
ศรัณภัสร์ ตั้งไพศาลธนกุล (วันอาทิตย์ – วันศุกร์)
นวนันท์ บำรุงพฤกษ์ (วันจันทร์ – วันเสาร์)
ชัยนนท์ หาญคีรีรัตน์ (วันเสาร์)
ญาณิน ญาณัชปวีณ (วันอาทิตย์)
ข่าวในพระราชสำนัก
วันจันทร์ – วันอาทิตย์
เวลา 20:15 – 20:30 น.
ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี
ฝ่ายข่าว ททบ.5 เอชดี
ไทยพีบีเอส

รายการข่าวซอฟต์นิวส์ วาไรตี้ ปกิณกะ บันเทิง และทอล์กโชว์เชิงข่าว

[แก้]
รายการข่าว ทีมผลิต ผู้ประกาศข่าว
ข่าวแหกโค้ง
วันจันทร์ – วันอาทิตย์
เวลา 19:00 – 20:15 น.
วันบันเทิง สมพล ปิยะพงศ์สิริ
ปาจรีย์ ณ นคร
อนุวัต เฟื่องทองแดง
กฤต เจนพานิชการ
เขมรัชต์ สุนทรนนท์
วรินดา ดำรงผล
แฉ
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 21:30 – 23:00 น.
เอไทม์ มีเดีย คชาภา ตันเจริญ
วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์
ชวลิต ศรีมั่นคงธรรม
ธนัชพันธ์ บูรณาชีวาวิไล
เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์
มรกต แสงทวีป

ผู้สื่อข่าว

[แก้]
  • ทินณภพ พันธะนาม
  • นรพร พจน์จำเนียร
  • ภูมินทร์ สารสมบูรณ์
  • รัชตะ ไทยตระกูลพาณิชย์
  • อนุศักดิ์ ภูมิเทศ
  • กีรติ ภู่ระหงษ์
  • ฆฤณ กมุทโธยิน
  • ณิชา อภิรักขวานนท์
  • กลยุทธ์ โหงวเกิด
  • นครินทร์ โคตรศรี
  • ชยุทธนาท นันท์ดี

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในอดีต

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "แบบ 56-1 One Report ประจำปี 2564" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2022-03-29. สืบค้นเมื่อ 2022-06-13.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ""กลุ่มเจ้าสัวเจริญ" เตรียมทุ่ม 1 พันล. จ่อฮุบหุ้น 50% ใน "จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง"". ประชาชาติธุรกิจ. 24 สิงหาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ตระกูลสิริวัฒนภักดีเข้าถือหุ้นใน GMM Channel Trading". กรุงเทพธุรกิจ. 25 สิงหาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "อนาคต "แกรมมี่" หลังขายหุ้นให้ "ลูกเจ้าสัว"". Positioning Magazine. 28 สิงหาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "ปิดดีล 2 ทายาท สิริวัฒนภักดี ซื้อหุ้น 50% จีเอ็มเอ็ม ชาแนล (GMM25) ตั้ง 2 บริษัทใหม่ถือหุ้นแทน อเดลฟอส". Positioning Magazine. 8 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. ลือสะพัด แกรมมี่ขอซื้อคืนหุ้นช่อง GMM25 ทั้งหมดจากกลุ่มช้าง
  7. ""ต๊ะ นารากร" โพสต์ปริศนา ฟ้าผ่าฝั่งอโศก ตอกย้ำข่าวช็อก ปลด "ฉอด สายทิพย์"". ผู้จัดการออนไลน์. 25 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 "พี่ฉอด ควง เอส พูดแล้ว! ความจริงคืออะไร? เรื่องโดนปลดจาก GMM25-เอไทม์". ไทยรัฐ. 26 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 'พี่ฉอด-เอส'เคลียร์ชัด! เปิดบริษัทใต้หลังคา 'แกรมมี่'
  10. ฟังชัดๆ!! พี่ฉอด-เอส เคลียร์! หลังถูกลือออกจากแกรมมี่
  11. GMM25 ปรับทัพใหม่ เจาะกลุ่ม Premium Mass ดึง “ปุ๊ก-พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์” ผู้กำกับมือดี เข้าคุมละครของช่อง
  12. เปิดใจ “เล���ก บุษบา” ผู้ยิ่งใหญ่ใต้ชายคาแกรมมี่ ปาด “ฉอด” คุม GMM25 มีปัญหากันมั้ย?
  13. 'เล็ก-บุษบา' รู้กุมบังเหียน'GMM25'คือความหวังคนทั้งวงการ
  14. "ไม่พลิกโผ!! "พี่ถา-สถาพร" ผู้บริหาร GMMTV เจ้าของซีรีส์วัยรุ่นชื่อดัง กุมบังเหียนช่อง GMM25 เต็มรูปแบบแทน "พี่ฉอด"". พันทิป. 30 กรกฎาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "'สถาพร' ควบ 'จีเอ็มเอ็มทีวี-จีเอ็มเอ็ม25'". คมชัดลึก. 27 กันยายน 2561. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "รายงานประจำปี 2561" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2019-03-28. สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "ข้อมูลนิติบุคคล | บริษัท จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด". กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "ประวัติการเปลี่ยนแปลง | ชื่อนิติบุคคล : บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด". กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. จับตาละคร “ฉอด” ที่ช่อง GMM25 เมื่อ “บอย-ถกลเกียรติ” นั่งเก้าอี้บริหารควบ One 31
  20. "อำลา!GMM25ขาดทุน-ยุบฝ่ายข่าว หยุดดำเนินกิจการสิ้นปี". เดลินิวส์. 26 พฤศจิกายน 2563. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "แจ้งเรื่องการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) การเข้าทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนการตลาดช่อง GMM25 และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่บริษัทร่วมค้า" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2020-12-21. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  22. "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์". สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. "รายการข่าว GMM NEWS ช่อง GMM Channel". พันทิป.คอม. 2014-12-28. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  24. "เบื้องลึก GMM25 เขย่าครั้งใหญ่ เลิกผลิตข่าว จ้างออก คุมแทน "สถาพร 27 คน ลือ ดึง "บอย-อภิชาติ์" จากทรูโฟร์ยู"". Positioning Magazine. 2019-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  25. "JKN News ร่วมทุน GMM25 เดินหน้าคอนเทนต์ข่าว CNBC ออกอากาศ 1 ก.ค.นี้". ผู้จัดการออนไลน์. 2019-06-04. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  26. "JKN News ปรับโฉมรายการข่าวช่อง GMM25 ดึงอินฟลูเอนเซอร์ชั้นนำของไทยร่วมสร้างสีสันในรายการ หวังขยายฐานกลุ่มผู้ชม". สยามรัฐ. 2019-09-02. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  27. "ไปต่อไม่ไหว !! Squawk Box รายการจาก JKN CNBC โบกมือลาช่อง GMM25 แล้ว". เฟซบุ๊ก. 2019-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  28. "นารากร ออกมาเคลื่อนไหว หลังบ้านเก่า ช่อง GMM25 หยุดดำเนินกิจการ". ONBNEWS. 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  29. "'ช่องจีเอ็มเอ็ม 25' 'ละคร-วาไรตี-ข่าว'แซ่บครบรส". ข่าวสด. 2021-01-01. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  30. "Super of One News 2021". เฟซบุ๊ก. 2022-02-01. สืบค้นเมื่อ 2022-02-13.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)