ข้ามไปเนื้อหา

รัฐสภากลางเบลเยียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐสภากลางเบลเยียม

ตราสัญลักษณ์ของวุฒิสภา
ตราสัญลักษณ์ของสภาผู้แทนราษฎร
ประเภท
ประเภท
องค์ประกอบวุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
ผู้บริหาร
สเตฟานี โดซ, โอเปิน เฟเอลเด
��ั้งแต่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2020
เอลียาน ตีลีเยอ, พรรคสังคมนิยม
ตั้งแต่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2020
โครงสร้าง
สมาชิก210 คน
วุฒิสภา 60 คน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 150 คน
กลุ่มการเมืองใน
วุฒิสภา
ฝ่ายรัฐบาล (37)
  •   พรรคสังคมนิยม (7)
  •   ขบวนการปฏิรูป (7)
    •   ขบวนการปฏิรูป (6)
    •   พรรคเพื่อเสรีภาพและความก้าวหน้า (1)
  •   ประชาธิปไตยคริสเตียนและเฟลมิช (5)
  •   เอโกโล (5)
  •   เสรีนิยมและประชาธิปไตยเฟลมิช (5)
  •   ครุน (4)
  •   โฟเรยต์ (4)

ฝ่ายค้าน (23)

  •   พันธมิตรเฟลมิชใหม่ (9)
  •   ฟลามส์เบอลัง (7)
  •   พรรคแรงงานเบลเยียม (5)
  •   ศูนย์ประชาธิปไตยมนุษยนิยม (2)
กลุ่มการเมืองใน
สภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรัฐบาล (87)
  •   พรรคสังคมนิยม (19)
  •   ขบวนการปฏิรูป (14)
  •   เอโกโล (13)
  •   ประชาธิปไตยคริสเตียนและเฟลมิช (12)
  •   โอเปิน เฟเอลเด (12)
  •   โฟเรยต์ (9)
  •   ครุน (8)

ฝ่ายค้าน (63)

  •   พันธมิตรเฟลมิชใหม่ (24)
  •   ฟลามส์เบอลัง (18)
  •   พรรคแรงงานเบลเยียม (12)
  •   ศูนย์ประชาธิปไตยมนุษยนิยม (5)
  •   เดฟี (2)
  •   อิสระ (2)
การเลือกตั้ง
ทางอ้อม
ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อแบบบัญชีเปิดในสิบเอ็ดเขตเลือกตั้ง และมีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำร้อยละ 5
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุด
26 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
ที่ประชุม
ปาแลเดอลานาซียง
กรุงบรัสเซลส์  เบลเยียม
เว็บไซต์
www.fed-parl.be

รัฐสภากลางเบลเยียม (ฝรั่งเศส: Parlement fédéral belge; ดัตช์: Federaal Parlement van België; เยอรมัน: Föderales Parlament von Belgien) เป็นสภานิติบัญญัติระดับชาติของราชอาณาจักรเบลเยียม ใช้ระบบสองสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (ฝรั่งเศส: Chambre des Représentants; ดัตช์: Kamer van Volksvertegenwoordigers; เยอรมัน: Abgeordnetenkammer) กับวุฒิสภา (ฝรั่งเศส: Sénat; ดัตช์: Senaat; เยอรมัน: Senat)

สภาผู้แทนราษฎร[แก้]

สภาผู้แทนราษฎรมีการประชุมสภาที่อาคารรัฐสภา ปาแลเดอลานาซียง (ฝรั่งเศส: Palais de la Nation) ณ กรุงบรัสเซลส์ ผู้ที่จะสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจะต้องมีอายุอย่างน้อย 21 ปีบริบูรณ์ เป็นบุคคลสัญชาติเบลเยียม และพำนักอยู่ในประเทศเบลเยียม

ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 150 ที่นั่ง โดยเลือกตั้งจาก 11 เขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งแต่ละเขตนั้นจะแบ่งตามเขตภาษาที่ใช้ในเบลเยียม ได้แก่ 5 เขตในแคว้นเฟลมิช (79 ที่นั่ง) 5 เขตในแคว้นวอลลูน (49 ที่นั่ง) และเขตที่ใช้สองภาษา คือ บรัสเซลส์-ฮัลเลอ-ฟิลโฟร์เดอ (22 ที่นั่ง) แต่ละเขตจะสอดคล้องกับเขตจังหวัด ยกเว้นในกรณีของเขตเลือกตั้งในเลอเฟิน (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเฟลมิชบราบันต์) และบรัสเซลส์-ฮัลเลอ-ฟิลโฟร์เดอ

ในแต่ละเขตเลือกตั้งจะมีจำนวนสมาชิกผู้แทนราษฎรตามสัดส่วนประชากรทั้งหมด (ไม่ได้คำนวณเฉพาะจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง) เป็นจำนวนตั้งแต่ 4 คนสำหรับจังหวัดลักเซมเบิร์ก ไปจนถึง 24 คนสำหรับจังหวัดแอนต์เวิร์ป โดยมีการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำที่ร้อยละ 5 (คะแนนเสียงต่ำสุด) เขตเลือกตั้งทั้งหมดในเบลเยียมนั้นจะใช้ภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยแบ่งตามเขตภาษา ยกเว้นในสองเขต ได้แก่ บรัสเซลส์-ฮัลเลอ-ฟิลโฟร์เดอและเลอเฟินซึ่งครอบคลุมเทศบาลที่ใช้ทวิภาษา (ฝรั่งเศสและดัตช์) 19 เขตเทศบาลในแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ และกว่า 35 เขตเทศบาลที่ใช้ภาษาดัตช์ในเขตจังหวัดเฟลมิชบราบันต์ ซึ่งรวมถึง 7 เขตเทศบาลที่มีการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบันนั้นมาจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2019

วุฒิสภา[แก้]

ตั้งแต่ ค.ศ. 2014 เป็นต้นมา วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 60 คน โดยแบ่งตามที่มาได้สองประเภท ได้แก่ สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งและสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งของรัฐบาลท้องถิ่น

สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งทั้ง 50 ที่นั่งนั้นประกอบด้วยจากรัฐบาลเฟลมิชจำนวน 29 คน รัฐบาลประชาคมฝรั่งเศสจำนวน 10 คน รัฐบาลวอลลูนจำนวน 8 คน รัฐบาลแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์จำนวน 2 คน และรัฐบาลประชาคมผู้พูดภาษาเยอรมันจำนวน 1 คน ส่วนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 10 คนที่แต่งตั้งโดยสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 50 คน คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องเหมือนกันกับวุฒิสภา

ในอดีต ตำแหน่งวุฒิสภาจะเป็นของบุรุษเท่านั้น เนื่องจากสตรีถูกข้ามจากลำดับการสืบสันตติวงศ์ แต่ตั้งแต่ ค.ศ. 1991 จนถึงก่อน ค.ศ. 2014 หลังจากการแก้กฎหมายแล้ว ทำให้เจ้าหญิงอัสตริด, เจ้าชายฟิลิป และเจ้าชายโลร็องนั้นสามารถเป็นสมาชิกได้ แต่พระองค์จะไม่มีสิทธิเข้าร่วมในการออกเสียง แม้ว่าพระองค์จะมีพระราชสิทธิ์ตามกฎหมายก็ตาม

วุฒิสภาประชุมกันที่อาคารรัฐสภา ณ กรุงบรัสเซลส์

อ้างอิง[แก้]