ข้ามไปเนื้อหา

คณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก
ประเภทการสนับสนุนการลงประชามติ
รัสพจน์UNAMET
หัวหน้าเอียน มาร์ติน
สถานะเสร็จสิ้น
จัดตั้ง11 มิถุนายน 2542
เว็บไซต์www.un.org/etimor
ต้นสังกัดคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

คณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (อังกฤษ: United Nations Mission in East Timor; อักษรย่อ: UNAMET) ได้รับการสถาปนาโดยมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ 1246 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2542[1] มีอายุการปฏิบัติงานถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ต่อมาได้มีมติของคณะมนตรีความมั่นคงที่ 1257 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ได้ขยายอายุของคณะผู้แทนออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542[2]

อาณัติ[แก้]

เพื่อจัดหน่วยลงคะแนนและดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนบนพื้นฐานของการลงคะแนนโดยตรงที่เป็นความลับและเป็นสากล เพื่อให้แน่ใจว่าประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกยอมรับกรอบรัฐธรรมนูญที่ได้ลงมติเลือก มีตัวเลือกระหว่างการจัดให้มีเอกราชพิเศษสำหรับติมอร์ตะวันออกภายในสาธารณรัฐรวมกับอินโดนีเซีย หรือปฏิเสธข้อเสนอนั้น และแยกประเทศเป็นเอกราชของติมอร์ตะวันออก ซึ่งนำไปสู่การแยกติมอร์ตะวันออกออกจากอินโดนีเซีย การลงมติดังกล่าวตามความตกลงทั่วไป จะส่งผลให้เลขาธิการสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามวรรค 3 ของความตกลงความมั่นคงได้

คณะเจ้าหน้าที่[แก้]

  • ผู้แทนเลขาธิการสหประชาชาติ: เอกอัครราชทูต เจมส์ซีส มาร์กเกอร์ (ปากีสถาน)
  • ผู้แทนพิเศษเลขาธิการสหประชาชาติและผู้นำคณะผู้แทน: เอียน มาร์ติน (สหราชอาณาจักร)
  • รองผู้แทนเลขาธิการสหประชาชาติ: ฟรานเซส เวนเดรลล์ (สเปน)
  • หัวหน้าตำรวจพลเรือน: ผู้บัญชาการ อลัน มิลส์ (ออสเตรเลีย)
  • หัวหน้านายทหารติดต่อ: พลจัตวา เรซาคูล ไฮเดอร์ (บังกลาเทศ)
  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง: แพทริค เอ. แบรดลีย์ (ไอร์แลนด์), โยฮันน์ ครีกเลอร์ (แอฟริกาใต้) และบอง-สกุก โซห์น (เกาหลีใต้)
  • หัวหน้าฝ่ายการเลือกตั้ง: เจฟ ฟิชเชอร์ (สหรัฐ)
  • หัวหน้าฝ่ายบริหาร: โยฮาเนส วอร์เทล (เนเธอร์แลนด์)
  • หัวหน้าฝ่ายการเมือง: เบง หยง ชิว (สิงคโปร์)
  • หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์: เดวิด วิมเฮิร์สต์ (แคนาดา)

นอกจากนี้ ผู้แทนยังได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่จากนานาชาติประมาณ 210 คน กำลังตำรวจพลเรือนจำนวน 271 นาย (เต็มกำลังประจำการ) จากอาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, บังกลาเทศ, บราซิล, แคนาดา, อียิปต์, กานา, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ญี่ปุ่น, จอร์แดน, มาเ��เซีย, โมซัมบิก, เนปาล, นิวซีแลนด์, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, โปรตุเกส, สาธารณรัฐเกาหลี, สหพันธรัฐรัสเซีย, เซเนกัล, สเปน, สวีเดน, ไทย, สหราชอาณาจักร, อุรุกวัย, สหรัฐอเมริกา และซิมบับเว นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่ประสานงานทางทหารจำนวน 50 นายจากออสเตรเลีย, ออสเตรีย, บังคลาเทศ, บราซิล, เดนมาร์ก, ไอร์แลนด์, มาเลเซีย, นิวซีแลนด์, โปรตุเกส, สหพันธรัฐรัสเซีย, ไทย, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา และอุรุกวัย ทีมงานระหว่างประเทศหลังจากสิ้นสุดภารกิจ มีอาสาสมัครสหประชาชาติประมาณ 420 คน จาก 67 ประเทศ เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งระดับเขต, เจ้าหน้าที่สนับสนุน และบริการทางการแพทย์

ทีมงานระหว่างประเทศ ได้รับการสนับสนุนกำลังคนโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง

ในวัฒนธรรมประชานิยม[แก้]

  • คณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (UNAMET) ปรากฏในซีรีส์ของสถานีโทรทัศน์เอบีซี เรื่อง Answered By Fire (2549)
  • เฮเซล, เจฟฟ์ (2563) หนังสือ Picture a Dry Riverbed อัตชีวประวัติทางประวัติศาสตร์ของตำรวจพลเรือนในเขตเอร์เมรา ติมอร์ตะวันออก ซึ่งตำรวจเหล่านี้มีส่วนช่วยในการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน
  • เพมเปอร์, แทมมี่ (2562) หนังสือ Scorched Earth สำนักพิมพ์บิ๊กสกาย. ชีวประวัติจากมุมมองของเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพ จากเหตุการณ์จริงในติมอร์ระหว่างการลงประชามติครั้งประวัติศาสตร์ปี พ.ศ. 2542

ดูเพิ่ม[แก้]

  • Martin, Ian; Alexander Mayer-Rieckh (Spring 2005). "The United Nations and East Timor: From Self-Determination to State-Building". International Peacekeeping. 12 (1): 125–145. doi:10.1080/1353331042000286595. S2CID 143653698.

อ้างอิง[แก้]

  1. (1999)Resolution 1246 S-RES-1246 (1999) in 1999 (retrieved 6 September 2008)
  2. (1999)Resolution 1257 S-RES-1257 (1999) in 1999 (retrieved 6 September 2008)