ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระพุฒาจารย์

(เสงี่ยม จนฺทสิริ)
คำนำหน้าชื่อท่านเจ้าประคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 (82 ปี 356 วัน ปี)
มรณภาพ27 มกราคม พ.ศ. 2526
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก, เปรียญธรรม 6 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
บรรพชา25 มีนาคม พ.ศ. 2461
อุปสมบท12 มิถุนายน พ.ศ. 2464
พรรษา61
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ นามเดิม เสงี่ยม วิโรทัย ฉายา จนฺทสิริ เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ และกรรมการมหาเถรสมาคม

ประวัติ

[แก้]

ชาติภูมิ

[แก้]

สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า เสงี่ยม วิโรทัย เกิดเมื่อวันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 เป็นบุตรของนายเขียว-นางประกอบ วิโรทัย ภูมิลำเนาอยู่ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงช่วยบิดาทำนา จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2460 จึงย้ายมาอยู่กับพระอาจารย์ทอง คณะ 5 วัดสุทัศนเทพวราราม

อุปสมบท

[แก้]

แล้วบวชเป็นสามเณรในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2461 โดยมีพระมงคลราชมุนี (ผึ่ง ปุปฺผโก) เป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2464 ณ วัดสุทัศนเทพวราราม โดยมีพระพรหมมุนี (แพ ติสฺสเทโว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลราชมุนี (ผึ่ง ปุปฺผโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระราชเวที (นาค สุมนนาโค) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาทางธรรมว่า จนฺทสิริ

การศึกษา

[แก้]

ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมต่อจนสอบได้ตามลำดับดังนี้

สมณศักดิ์

[แก้]
  • พ.ศ. 2482 ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว) สมเด็จพระสังฆราช ให้ดำรงตำแหน่งฐานานุกรมที่ พระครูจุลคณานุศาสน์ วิจารโณภาสภาคยคุณ สุนทรสังฆานุคุตติ วิสุทธิสังฆนายก ปิฎกธรรมรักขิต พระครูปลัดซ้าย
  • พ.ศ. 2483 ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว) สมเด็จพระสังฆราช ให้ดำรงในตำแหน่งฐานานุกรมที่ พระครูมหาคณานุสิชฌน์ สังฆอิศริยาลังการ วิจารณโกศล วิมลสังฆนายก ปิฎกธรรมรักขิต พระครูปลัดขวา
  • 1 มีนาคม พ.ศ. 2489 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีสมโพธิ[2]
  • พ.ศ. 2490 เป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราช ในราชทินนามเดิม
  • พ.ศ. 2498 เป็นพระราชาคณะเสมอชั้นเทพ ในราชทินนามเดิม
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2502 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวิสุทธาจารย์ สุทัศนวิหารกิจบริรักษ์ อัครวโรปการ ธรรมภาณคุณธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ได้รับสถาปนาเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระวิสุทธิวงศาจารย์ ญาณทัศโนดม พรหมจริยาธิมุต วิสุทธิธัมมานุจารี ตรีปิฎกคุณาลังการวิภูษิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา สัปตวิสุทธิจริยาสมบัติ นิพัทธธุตคุณ สิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกมหาปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[5]

มรณภาพ

[แก้]

สมเด็จพระพุฒาจารย์ มรณภาพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2526[6] สิริอายุ 82 ปี 356 วัน พรรษา 61 ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2526 เวลา 17.00 น.

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู��ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 154
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์, เล่ม 63, ตอน 15 ง, 19 มีนาคม 2489, หน้า 357
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 76, ตอน 115 ง ฉบับพิเศษ, 16 ธันวาคม 2502, หน้า 2
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 85, ตอน 122 ก ฉบับพิเศษ, 31 ธันวาคม 2511, หน้า 1-6
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 95, ตอน 34 ก ฉบับพิเศษ, 27 มีนาคม 2521, หน้า 4-8
  6. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 156
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. ISBN 974-417-530-3
  • กิตฺติวุฑฺโฒ ภิกฺขุ. ตายแล้วไปไหนและของดีจากเปรต. กรุงเทพฯ : มูลนิธิอภิธรรมมหาธาตุวิทยาลัย, 2526. 230 หน้า. [พิมพ์เป็นธรรมานุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (จนฺทสิริมหาเถร)]


ก่อนหน้า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) ถัดไป
สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก)
เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
(พ.ศ. 2516 — พ.ศ. 2526)
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต)