ข้ามไปเนื้อหา

ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ก่อนหน้าเกรียง กีรติกร
ถัดไปนิพนธ์ ศศิธร
ดำรงตำแหน่ง
2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้าพลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์
ถัดไปพลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์
ดำรงตำแหน่ง
10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 22 กันยายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้าพลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์
ถัดไปสัมพันธ์ ทองสมัคร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2465
อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
เสียชีวิต22 มกราคม พ.ศ. 2536 (71 ปี)
คู่สมรสชูศรี สวัสดิ์พาณิชย์

ศาสตราจารย์ ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ (1 มกราคม พ.ศ. 2465 – 22 มกราคม พ.ศ. 2536) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติ

[แก้]

ศาสตราจารย์ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2465 ที่อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่นที่ 1) ระดับปริญญาตรีอักษรศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2487 จบปริญญาโททางการศึกษา จากมหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา และปริญญาเอกสาขาประถมศึกษา จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย

ศาสตราจารย์ก่อ ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ดังนี้[1]

ศาสตราจารย์ก่อ ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2536 สิริอายุ 71 ปี[2]

การทำงาน

[แก้]

ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เริ่มรับราชการในปี พ.ศ. 2487 เป็นครูสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้เลื่อนตำแหน่งเรื่อยมาจนได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมสามัญศึกษา ในปี พ.ศ. 2515

ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2517 ในรัฐบาลของศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ และรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[4] และได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีก 4 คณะรัฐมนตรี คือ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[5] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[6] รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[7] และรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2534[8] และ พ.ศ. 2535[9]

นอกจากงานด้านการศึกษาของไทยแล้ว ศาสตราจารย์ก่อ เคยเป็นกรรมการบริหารยูเนสโก ในปี พ.ศ. 2525-2529

ศาสตราจารย์ก่อ เคยเป็นอาจารย์พิเศษให้กับบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมีผลงานแต่งตำราอีกมาก เช่น แบบเรียนชุดเสริมประสบการณ์ภาษาไทย ชั้น ป.1 เรื่อง "เราช่วยกัน" และ "เราขยันเรียน"

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ดวงประทีปแห่งความรุ่งโรจน์ของมูลนิธิฯ ตามลำดับแห่งกาลเวลา
  2. บุคคลสำคัญ เก็บถาวร 2012-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กระทรวงวัฒนธรรม
  3. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  6. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาค พ.ศ. 2554
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๖๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๓๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๙ ตุลาคม ๒๕๓๕
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๗๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒