ข้ามไปเนื้อหา

ฟานซาง-ท้าปจ่าม

พิกัด: 11°34′N 108°59′E / 11.567°N 108.983°E / 11.567; 108.983
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟานซาง-ท้าปจ่าม

Phan Rang - Tháp Chàm
Panduranga
นครประจำจังหวัด
Phan Rang - Thap Cham
วิหารโปกลองการาย
ฟานซาง-ท้าปจ่ามตั้งอยู่ในประเทศเวียดนาม
ฟานซาง-ท้าปจ่าม
ฟานซาง-ท้าปจ่าม
ที่ตั้งในประเทศเวียดนาม
พิกัด: 11°34′N 108°59′E / 11.567°N 108.983°E / 11.567; 108.983
ประเทศ เวียดนาม
จังหวัดนิญถ่วน
ตั้งชื่อจากปัณฑุรังคะและวิหารโปกลองการาย
พื้นที่
 • นครประจำจังหวัด78.9 ตร.กม. (30.5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2019)
 • นครประจำจังหวัด167,394 คน
 • ความหนาแน่น2,114 คน/ตร.กม. (5,480 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง157,942 คน
 • นอกเมือง9,452 คน
เขตเวลาUTC+7
ภูมิอากาศAw
เว็บไซต์https://prtc.ninhthuan.gov.vn/

ฟานซาง-ท้าปจ่าม หรือในภาษาย่อยเวียดนามใต้ว่า ฟานราง-ท้าปจ่าม (เวียดนาม: Phan Rang - Tháp Chàm) เป็นนครแห่งหนึ่งในประเทศเวียดนามและเป็นเมืองหลักของจังหวัดนิญถ่วน ณ ปี พ.ศ. 2562 เขตเมืองทั้งหมดมีประชากรประมาณ 167,394 คน โดย 95,000 คนในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในตัวเมืองหลัก

ที่มาของชื่อ

[แก้]

ชื่อ ฟานซาง (Panrang) เป็นรูปแบบภาษาจามพื้นเมืองของคำสันสกฤต Pāṇḍuraṅga ดั้งเดิม (อีกชื่อหนึ่งของเทพเจ้าฮินดู Vithoba)[1] ปรากฏครั้งแรกในจารึกภาษาจามเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 ว่า Paṅrauṅ หรือ Panrāṅ[2] และหลังจากนั้นได้มีการทับศัพท์เป็นภาษาเวียดนามเป็น Phan Rang[3] ชื่อ ท้าปจ่าม (Tháp Chàm) แปลว่า "วัด/หอคอยของ จาม" และได้ตั้งชื่อตามวัด วิหารโปกลองการาย ในส่วนทางตอนเหนือของเมือง

ประวัติศาสตร์

[แก้]

บริเวณเมืองฟานซางเคยเป็นที่ตั้งของเมือง ปัณฑุรังคะ (Panduranga) ในสมัยอาณาจักรจามปา จากนั้นในช่วงสงครามเวียดนาม ฟานซางกลายเป็นที่ตั้งฐานทัพอากาศแห่งหนึ่งของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา โดยญี่ปุ่นเป็นผู้สร้างสนามบินไว้ก่อนแล้วในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และฝรั่งเศสได้เข้ามาใช้ต่อมา ฟานซางได้รับสถานะเมืองในปี พ.ศ. 2550

ภูมิศาสตร์

[แก้]

เมืองฟานซาง-ท้าปจาม ตั้งอยู่ในใจกลางของจังหวัด จังหวัดนิญถ่วน ห่างจากฮานอยไปทางใต้ 1,380 กม. ห่างจากนครโฮจิมินห์ปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 330 กม. ห่างจากญาจางไปทางใต้ 95 กม.[4]

ภูมิอากาศ

[แก้]

ฟานซาง ตั้งอยู่ในส่วนใต้สุดของภูมิภาคชายฝั่งตอนกลางใต้ มีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนาแบบเขตร้อน (As) อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ระหว่าง 27 ถึง 28 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 700 ถึง 800 มม. และความชื้นอยู่ที่ประมาณ 70-75%

ข้อมูลภูมิอากาศของฟานซาง-ท้าปจ่าม
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 25.1
(77.2)
25.4
(77.7)
26.6
(79.9)
28.1
(82.6)
29.3
(84.7)
29.1
(84.4)
28.5
(83.3)
28.6
(83.5)
27.9
(82.2)
27.2
(81)
26.7
(80.1)
25.6
(78.1)
27.1
(80.8)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 8.8
(0.346)
2.8
(0.11)
12.0
(0.472)
20.4
(0.803)
65.6
(2.583)
61.7
(2.429)
54.7
(2.154)
51.2
(2.016)
138.6
(5.457)
168.1
(6.618)
171.0
(6.732)
83.6
(3.291)
838.5
(33.012)
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 241.7 255.2 278.5 278.3 258.2 239.2 234.0 242.2 195.6 194.0 189.7 189.4 3,029
แหล่งที่มา: Vietnam Institute for Building Science and Technology [5]

วัฒนธรรม

[แก้]

จาม

[แก้]

เมือง ฟานซาง-ท้าปจ่าม กลายเป็นศูนย์กลางในการดำรงรักษาวัฒนธรรมของชาวจาม ชาวจามอาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมือง โดยปลูกนาข้าว สวนองุ่นและพีช ฝูงแพะและวัวพันธุ์บราห์มัน หอคอย (Thap) ของพวกเขาเป็นอนุสรณ์สถานที่สวยงามสำหรับกษัตริย์และราชินีของพวกเขา มีสถานที่ของชาวจามหลายแห่งที่มีหอคอยทรุดโทรมตามแนวชายฝั่งตอนกลางของเวียดนาม และมีสถานที่สำคัญๆ มากมายในเมืองหมีเซินและญาจาง

วิหารโปร์การายคอมเพล็กซ์ยามพระอาทิตย์ตกดิน

การอ้างอิง

[แก้]
  1. Dokras, Dr Uday (2022-01-01). "The Ancient City of PANDURANGA in Vietnam". Indo Nordic Author's Collective.
  2. Griffiths, Arlo; Lepoutre, Amandine; Southworth, William A.; Phần, Thành (2009). "Études du corpus des inscriptions du Campa III, Épigraphie du Campa 2009-2010. Prospection sur le terrain, production d'estampages, supplément à l'inventaire" (PDF). Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient (ภาษาFrench). 95–96: 435–497. doi:10.3406/befeo.2008.6118.{{cite journal}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  3. Nguyễn, Nhân Thống (2001). "Nguồn gốc các Địa danh Đà Nẵng – Hội An – Nha Trang – Phan Rang". Tạp chí Ngôn ngữ và Đời sống (ภาษาเวียดนาม). 4 (66): 17&40.
  4. "Điều kiện tự nhiên -". prtc.ninhthuan.gov.vn (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  5. "Vietnam Institute for Building Science and Technology" (ภาษาอังกฤษ).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ��านซาง-ท้าปจ่าม

11°34′N 108°59′E / 11.567°N 108.983°E / 11.567; 108.983