ข้ามไปเนื้อหา

มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์
ไฟล์:มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์.jpg
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร
ดำรงตำแหน่ง
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563
ก่อนหน้าอุดร ไกรวัตนุสสรณ์
ถัดไปอุดม ไกรวัตนุสสรณ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมุทรสาคร
ดำรงตำแหน่ง
(ครั้งล่าสุด)
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2482 (85 ปี)
พรรคการเมืองความหวังใหม่
พลังประชาชน
เพื่อไทย
คู่สมรสพอใจ ไกรวัตนุสสรณ์

มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2482) อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร หลายสมัย

ประวัติ

[แก้]

มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2482 เป็นบุตรของนายกุ้ยใช้ และนางกุ้ยลั้ง แซ่โง้ว มีพี่น้อง 11 คน สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. จากโรงเรียนธนกิจพาณิชยการ สมรสกับนางพอใจ มีบุตร 5 คน คือ

  1. นายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร
  2. นางสาวอุไร ไกรวัตนุสสรณ์ อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน
  3. นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย อดีตสมาชิกบ้านเลขที่ 111
  4. ร้อยตำรวจเอกหญิงสมพร ไกรวัตนุสสรณ์
  5. นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

งานการเมือง

[แก้]

นายมณฑล เดิมมีความสนิทสนมกับพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ รวมทั้งเคยเป็นหัวคะแนนให้นายเจี่ย ก๊กผล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย ต่อมานายมณฑลได้ลงสนามการเมืองอย่างเต็มตัว โดยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ในปี พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันมารวม 4 สมัย กระทั่งได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา[1]

หลังจากนั้นนายมณฑลได้วางมือทางการเมือง โดยมีบุตรชายทั้ง 3 คน เข้ามาทำงานการเมืองสืบแทน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2550 นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ บุตรชายถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ในคดียุบพรรคไทยรักไทย พร้อมกับกรรมการบริหารพรรคอีก 110 คน นายมณฑลจึงกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง ในสังกัดพรรคพลังประชาชน และได้คะแนนเป็นอันดับที่ 3 ของเขต (มี ส.ส.ได้ 3 คน) แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 นายมณฑลลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคเพื่อไทย กลับต้องพ่ายแพ้ให้กับนายนิติรัฐ สุนทรวร จากพรรคประชาธิปัตย์อย่างขาดลอย

ปลายปี พ.ศ. 2554 นายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์ บุตรชายคนโต ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ถูกลอบยิงเสียชีวิต โดยมีนายครรชิต ทับสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ตกเป็นผู้ต้องหา[2] นายมณฑลจึงลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแทน และได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนขาดลอย ผลคะแนนปรากฏดังนี้[3]

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร
# ผู้สมัคร คะแนน %
1 อัคคเดช สุวรรณชัย 46,020 20.85
2 มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ 137,910 62.48
3 กันต์กวี ทับสุวรรณ 23,866 10.81
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 6,840 3.10
บัตรเสีย 6,088 2.76
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 220,724 คน (คิดเป็นร้อยละ 61.67 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 357,886 คน)

และดำรงตำแหน่งจนถึงปี พ.ศ. 2563 จึงพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีการกำหนดให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคความหวังใหม่
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสมุท��สาคร สังกัดพรรคความหวังใหม่
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคความหวังใหม่
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคความหวังใหม่
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดพรรคพลังประชาชน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ย้อนรอยศึกสองตระกูลการเมืองมหาชัย ‘ไกรวัตนุสสรณ์-ทับสุวรรณ’ [ลิงก์เสีย]
  2. ออกหมายจับ ครรชิต ทับสุวรรณ สส.ปชป.ฆ่านายกอบจ.สมุทรสาคร
  3. ผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกอบจ.สมุทรสาคร[ลิงก์เสีย]
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]