ข้ามไปเนื้อหา

อรรถกร ศิริลัทธยากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อรรถกร ศิริลัทธยากร
อรรถกรใน พ.ศ. 2567
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน พ.ศ. 2567 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 129 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีว่าการธรรมนัส พรหมเผ่า
ก่อนหน้าไชยา พรหมา
อนุชา นาคาศัย
ถัดไปอิทธิ ศิริลัทธยากร
อัครา พรหมเผ่า
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 137 วัน)
ก่อนหน้าชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(2 ปี 159 วัน)
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
(3 ปี 361 วัน)
โฆษกพรรคพลังประชารัฐ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
(1 ปี 326 วัน)
ก่อนหน้าธนกร วังบุญคงชนะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 สิงหาคม พ.ศ. 2527 (40 ปี)
อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2554–2561)
พลังประชารัฐ (2561–ปัจจุบัน)
บุพการี

อรรถกร ศิริลัทธยากร ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 7 สิงหาคม พ.ศ. 2527) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา อดีตกรรมการบริหารและอดีตโฆษกพรรคพลังประชารัฐ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ 2 สมัย

ประวัติ

[แก้]

อรรถกร ศิริลัทธยากร มีชื่อเล่นว่า "เบ๊นซ์" เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2527 ที่ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรของ อิทธิ ศิริลัทธยากร กับสุพัฒตรา ศิริลัทธยากร จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้าน Communication Arts จาก คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และปริญญาโท Marketing Management จาก MIDDLESEX UNIVERSITY ประเทศอังกฤษ

การทำงาน

[แก้]

อรรถกร ศิริลัทธยากร ประกอบธุรกิจส่วนตัว ต่อมาในปี 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 57 สังกัดพรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ต่อมาย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 18 โดยการสนับสนุนของบิดา[1] และได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง

อรรถกร มีบทบาทเป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล)[2] และเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หลายปีงบประมาณด้วยกัน[3][4] นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้อภิปรายประเด็นเกี่ยวกับการแต่งกายในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย[5]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 เขาได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ[6] และเขาเป็นโฆษกพรรคพลังประชารัฐ

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ต่อมาในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567 อรรถกรได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ[7]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

อรรถกร ศิริลัทธยากร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สุชาติ" ฮึด ยึดแปดริ้วอีอีซี
  2. วิปรบ.มีจุดยืนรักและเทิดทูนสถาบัน วอนทุกฝ่ายใช้ความจริงใจ-เหตุผลร่วมกัน เตือนไม่มีใครได้ 100% ถอยคนละก้าว หาจุดยืนร่วมกัน
  3. กมธ.พิจารณางบฯปี63 ผ่านแล้ว3กระทรวง
  4. เปิดชื่อ 72 กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบ 65 พบ ‘เรืองไกร’ โผล่โควต้า พลังประชารัฐ
  5. สรุปเหตุการณ์เดือด! พลังประชารัฐ ซัด อนาคตใหม่ ไม่ใส่เนคไท ไม่ให้เกียรติสภา!
  6. เปิดรายชื่อ กก.บห. พรรคพลังประชารัฐชุดใหม่ 22 คน
  7. "'ธรรมนัส' ยกก๊วนไขก๊อก กก.บห.พลังประชารัฐ 'ไพบูลย์' จ่อนั่งเลขาธิการพรรค". ไทยโพสต์. 4 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
ก่อนหน้า อรรถกร ศิริลัทธยากร ถัดไป
ไชยา พรหมา
อนุชา นาคาศัย

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(ครม. 63)

(28 เมษายน พ.ศ. 2567 - 3 กันยายน พ.ศ. 2567)
อิทธิ ศิริลัทธยากร
อัครา พรหมเผ่า