ข้ามไปเนื้อหา

อิทธิ ศิริลัทธยากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิทธิ ศิริลัทธยากร
อิทธิ ใน พ.ศ. 2567
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 กันยายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 19 วัน)
นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร
ก่อนหน้าอรรถกร ศิริลัทธยากร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 6 มกราคม พ.ศ. 2544
(1 ปี 181 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการสุเทพ เทือกสุบรรณ
ก่อนหน้าโชคสมาน สีลาวงษ์
ถัดไปจองชัย เที่ยงธรรม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (70 ปี)
อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติพัฒนา (2535–2547)
ไทยรักไทย (2547–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
พลังประชารัฐ (2561–2567)
กล้าธรรม (2567–ปัจจุบัน)[1]
คู่สมรสสุพัฒตรา ศิริลัทธยากร
บุตรอรรถกร ศิริลัทธยากร

อิทธิ ศิริลัทธยากร (เกิด 18 มิถุนายน พ.ศ. 2497) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลชวน หลีกภัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา และอดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน

ประวัติ

[แก้]

อิทธิ ศิริลั���ธยากร เกิดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2497 เป็นชาวตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักการเมืองชาวฉะเชิงเทรา เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หลายสมัยของจังหวัดฉะเชิงเทรา[2]

อิทธิ ศิริลัทธยากร เคยเข้าร่วมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553[3]

งานการเมือง

[แก้]

อิทธิ ศิริลัทธยากร เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา 5 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคชาติพัฒนา พรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชนตามลำดับ และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย (ครม.53)

เขายังเป็นหนึ่งในสมาชิก ส.ส.กลุ่ม 16[4] อีกด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551[5]

ในช่วงระหว่างที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง อิทธิได้สนับสนุนบุตรชาย คือนาย อรรถกร ศิริลัทธยากร ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 57 และในนามพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 18[6] จากนั้นในปี พ.ศ. 2567 มีกระแสข่าวว่าร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า เตรียมส่งชื่อของนายอิทธินั่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แทนนายอรรถกรในโควตาคนนอก หลังจากที่พรรคเพื่อไทยมีมติไม่นำพรรคพลังประชารัฐมาเข้าร่วมรัฐบาล[7] โดยอิทธิได้ยื่นใบลาออกจากสมาชิกพรรคพลังประชารัฐก่อนหน้านี้มาระยะหนึ่งแล้ว และได้กรอกเอกสารคุณสมบัติรัฐมนตรีแล้ว[8]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

อิทธิ ศิริลัทธยากร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคชาติพัฒนา
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคชาติพัฒนา
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคชาติพัฒนา
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคชาติพัฒนาพรรคไทยรักไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคพลังประชาชน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""ธรรมนัส" เผยถอยจากการเมืองมีความสุข ไร้ชื่อใน ครม."อิ๊งค์ 1" แจง "นฤมล-อิทธิ" ส่งชื่อตัวเองในนามพรรคกล้าธรรม". mgronline.com. 2024-09-03.
  2. นายอิทธิ ศิริลัทธยากร[ลิงก์เสีย]
  3. "อากาศเป็นใจม็อบเสื้อแดงแน่นผ่านฟ้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-31. สืบค้นเมื่อ 2011-07-15.
  4. แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’[ลิงก์เสีย]
  5. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  6. "สุชาติ" ฮึด ยึดแปดริ้วอีอีซี
  7. ""ธรรมนัส" ส่ง "อิทธิ" พ่อ "อรรถกร" นั่ง รมช.เกษตรฯ แทน หลังเพื่อไทยไม่เอา พปชร". ไทยรัฐ. 27 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2024.
  8. "โผพลิกนาทีสุดท้าย! "อิทธิ" นั่ง รมช.เกษตรฯ แทน "อรรถกร" ลูกชาย ในโควตา "ธรรมนัส"". mgronline.com. 2024-08-27.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]